Tuesday, May 18, 2010

เรื่องเล่าของลุงน้อย ดินแดง



เรื่องเล่าของลุงน้อย ดินแดง
โดย สมบัติ บุญงามอนงค์

ลุงน้อยเป็นเจ้าของรถขายผลไม้ที่ถูกดัดแปลงมาเป็นเวทีชั่วคราว
เพราะบนหลังคารถแกมีลำโพงขนาดเล็ก
ถ้าเราเห็นรถผลไม้หรือรถกับข้าวที่วิ่งเข้าไปในซอยแล้วหมาชอบหอน
นั้นแหละรถกระบะของลุงน้อย

วันนี้กระบะหลังรถของลุงน้อยไม่มีผลไม้หรือสินค้าอะไร
ลุงมาที่ดินแดนเพราะลุงดูทีวีแล้วสื่อบอกว่า ประชาชนทำร้ายทหาร
แต่ลุงได้ยินว่าประชาชนถูกฆ่าตาย ลุงน้อยมาที่ดินแดนได้สองวันแล้
หน้าตาแกอ่อนเพลียรจนเห็นได้ชัด เสียงก็แหบแห้งจนแทบฟังไม่รุ้เรื่อง

ก่อนที่รถเครื่องหกล้อซึ่งเป็นรถเครื่องเสียงใหญ่จะมา
รถของลุงเปรียบเสมือนเวทีปราศรัยทางการเมืองที่ตรึงคนที่กระจัดกระจายมารวมกันเป็นกลุ่ม
เพื่อมิให้ประชาชนวิ่งเข้าไปในแนวปะทะแล้วทำให้เกิดการล้มตายเหมือนสองสามวันที่ผ่านมา

เมื่อเวทีใหญ่และเครื่องเสียตั้งขึ้น ลุงแกบอกว่า
แกจะวิ่งเข้าไปที่แนวปะทะ ผมดึงแกไว้ กอดแกว่า ลุงอย่าไปเลย
ตรงนั้นมันอันตราย ลุงบอกลุงไม่กลัวตาย ลุงไปตะโกนด่าทหารมันสองวันแล้ว
ลุงพร้อมให้มันยิงใส่ร่างของลุง

ผมและเพื่อนอีกคนเกลี่ยกล่อมแกสักระยะหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่าแกจะสงบลงได้
แล้วก็นิ่งไป แต่สักสิบนาทีรถผลไม้คู่ชีพของแกก็ขับแล่นผ่านสายตาของผม
ตรงไปยังแนวปะทะ ตั้งแต่สี่โมงเย็น
แล้วผมก็ไม่ได้เห็นลุงน้อยกลับออกมาอีกเลย

ผมไม่รู้หรอกว่า ชะตากรรมของแกเป็นอย่างหลังจากนั้น
แต่มันทำให้ผมนึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์
เท็กซี๋วีรชนที่ขับชนรถถังตอนรัฐประหาร 19 กย คนแก่คนหนึ่ง
คงไม่มีปัญญาไปปรบมือสู้รบกับใคร เขาเพียงแต่พิจารณาตนเองแล้วว่า
เขาพร้อมจะจัดการนำพาเวลาในชีวิตที่หลงเหลืออยู่เพื่อแลกหรือต้องการสื่อสารอะไร
เขาอาจไม่ได้ต้องการคำตอบจากผู้หนึ่งผู้ใด แต่เขาต้องตอบคำถามตัวเองว่า
เขาจะทำอย่างไรต่อความอยุติธรรมที่อยู่เบื้องหลังนี้

ผมกลับจากเวทีตอนเกือบตีสี่
อาบน้ำและตั้งใจจะเขียนบันทึกเรื่องที่สะเทือนใจที่สุดของผมในวันนี้
อยากบอกลุงน้อยว่า แม้คนอื่นอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ลุงคิด
แต่ผมเข้าใจสิ่งที่ลุงตัดสินใจ ขอให้ลุงโชคดีครับ

ตีสี่สิบห้านาที
17 พ.ค. 53



------------------------------------------------------
Din Daeng Story: Uncle Noi and his Political Pick-up Truck

By Sombat Boon-ngam-anong

Translated by Thaweeporn Kummetha

Edited by Pravit Rojanaphruk

Uncle Noi is a mobile fruit vendor. He peddles his fruits on a pick-up
truck which has a small loud speaker attached to it. Dogs would bark
at his arrival as unmistakable sign of his presence.

However, for the past couple of days, his old truck wasn't used to
sell fruits as usual but was turned into a temporary red-shirt rally
stage. The microphone and amplifier which has been used for calling
customers' attention is now a temporary red-shirt stage to convey
political thinking to other fellow red-shirts who gather at Din Daeng
after the main stage at Rajprasong intersection was cordoned off by
thousands of soldiers.

Looking pale and haggard, he tells me in a hoarse voice that he has
been here for two days. Distorted information from the television and
increasing number of civilian deaths led him there - to the new
protest site.

As soon as the stage and the amplifier were set, Uncle Noi tells me
that he will leave for the frontline where the shootings are raging. I
hold him, telling him that it is too dangerous. "I'm never afraid of
death. I'm ready for those bullets" he says angrily.

My friend and I try to calm him down and it seems to work for a while.
However, ten minutes later, I saw Uncle Noi's old buddy truck runs
pass me toward the frontline.

It was 4pm. That was the last time I saw him and I have not seen him since.

His fate is unknown. I have no idea if he is still alive. His reminds
me of the suicidal mission of Uncle Nuamthong Praiwan who ram his taxi
into an Army tank after the September, 2006 coup.

They both are elderly people who actually can't do much, but their
conscience tells them to spend the rest of their life doing as best as
possible to put a halt to political injustice, given their humble
status.

In the end, their missions may provide no answer. But at least they
have given it a try.

I left the stage around four in the morning, took a bath and started
to write the most touching story of my day.

Wish I could tell him that though others may not understand, I do
appreciate his decision.

"Best of luck, Uncle Noi"

4.15am
May 17, 2010

No comments:

Post a Comment